top of page

โลหะ “รักษา” ตัวเองได้

เป็นที่ทราบกันดีว่า โลหะไม่สามารถรักษาหรือซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ เมื่อมีการแตกหักวัสดุนั้นยังคงแตกหักและร้าวอยู่ โดยต้องอาศัยการซ่อมแซมจึงสามารถกลับมามีสภาพเดิมได้ แต่การวิจัยใหม่เกี่ยวกับคุณสมบัติของโลหะบ่งชี้ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป อันที่จริงแล้วโลหะบางชนิดดูเหมือนจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการค้นพบที่อาจเปลี่ยนแปลงการออกแบบทางวิศวกรรมในอนาคต


จากการศึกษาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุจาก Sandia National Laboratories ใน Albuquerque, รัฐนิวเม็กซิโก และ Texas A&M University รัฐเท็กซัส ค้นพบโลหะบางชนิด ได้แก่ทองแดงและแพลทินัม สามารถ "รักษาตัวเองได้" และในวารสาร Live Science ได้กล่าวไว้ว่าการสังเกตของนักวิจัยนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญขณะสังเกตวัสดุทั้งสองในระดับนาโน และได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิจัยหลายคน โดยความสามารถในการรักษานี้ได้ยืนยันตามทฤษฎีที่มีอายุหลายสิบปีที่ Michael Demkowicz ศาสตราจารย์ด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมแห่ง MIT เสนอขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2013 โดย Demkowicz พยายามแก้ไขทฤษฎีวัสดุทั่วไปผ่านการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภายใต้เงื่อนไขบางประการ โลหะตามสมมุติฐานสามารถซ่อมแซมรอยร้าวที่เกิดจากความเครียดได้ ซึ่งกุญแจสู่ความสามารถที่อัศจรรย์นี้มาจากสิ่งที่เรียกว่า "การเชื่อมด้วยความเย็น" ซึ่งด้านข้างของรอยร้าวทั้งสองจะถูกกดเข้าหากันภายใต้เงื่อนไขบางประการ โดยยังมีอีกหลายสมมุติฐานที่ต้องสำรวจและทดสอบต่อไป แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจขยายวงกว้างและเปลี่ยนแปลงวิธีที่วิศวกรออกแบบและสร้างทุกอย่างตั้งแต่อาคารบนโลกไปจนถึงยานสำรวจอวกาศ การทดลองล่าสุดดำเนินการในสุญญากาศ แต่ทีมงานหวังว่าจะได้เรียนรู้ว่าการเชื่อมเย็นของโลหะอาจเกิดขึ้นได้ในสภาวะบรรยากาศปกติ โดยสรุป Demkowicz กล่าวว่าการค้นพบนี้เป็นข้อสนับสนุนที่ดีเยี่ยมว่า “ภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม วัสดุสามารถทำในสิ่งที่เราคาดไม่ถึงได้”


 




Comments


bottom of page