แมมมอธขนยาว สัตว์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นเวลากว่า 10,000 ปี จะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โดยนาย Ben Lamm ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ George Church นักพันธุศาสตร์จาก Harvard Medical School และคณาจารย์ที่ Wyss Institute for Biologically Inspired Engineering ที่ Harvard University ร่วมมือกันสร้างสัตว์ชนิดใหม่ที่คล้ายกับแมมมอธขนยาวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยการดัดแปลงพันธุกรรมช้างเอเชียที่เป็นสายพันธุ์ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงที่สุด และใกล้จะสูญพันธุ์เช่นกัน ให้ทนต่ออุณหภูมิหนาวเย็นในบริเวณอาร์กติก และทนทานต่อไวรัสเริม (herpes virus) ซึ่งหากการการวิจัยนี้สำเร็จ ศาสตราจารย์ Church ตั้งเป้าหมายจะส่งแมมมอธขนยาวกลับยังไปธรรมชาติ ที่ห่างไกลจากมนุษย์ คือ แคนาดาตอนเหนือ อลาสก้า และไซบีเรีย
โดยที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ Church ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในสุกร โดยตัดแต่งยีน 42 จุดในเซลล์ จากนั้น ถ่ายโอนนิวเคลียส ซึ่งเป็นส่วนที่มี DNA ของเซลล์ ใส่กลับเข้าไปในไข่ และเติบโตจนเป็นลูกสุกร โดยสุกรดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้แข็งแรงพอที่จะนำไปใช้ปลูกถ่ายอวัยวะในการทดลองในโรงพยาบาล สำหรับแมมมอธขนยาว จะทำการตัดแต่งพันธุกรรม โดยฝังเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงแรก จากนั้นจะย้ายไปเข้าไปเลี้ยงในมดลูกเทียม ซึ่งเป็นถุงพลาสติดขนาดใหญ่ เป็นเทคนิคเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ในฟิลาเดลเฟียเคยเลี้ยงแกะดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2560
Comments