
เมื่อเจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องช่วยเหลือผู้ประสพภัยจากแผ่นดินไหว พวกเขาต้องมีข้อมูลแบบเรียลไทม์ เจ้าหน้าที่กู้ภัยฉุกเฉินจำเป็นต้องรู้ว่าผู้ประสบภัยอยู่ที่ไหน และอาคารมีโครงสร้างที่มั่นคงเพียงพอหรือไม่ การส่งระบบอากาศยานไร้คนขับ (uncrewed aircraft system หรือ UAS) หรือ โดรน (Drone) เข้าไปในอาคารสามารถให้ข้อมูลอาคารนั้นได้โดยการบันทึกวิดีโอ เพื่อระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และทำแผนที่ภายในอาคาร
นาย Stephanie Layman เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยการสื่อสารด้านความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety Communications Research ของ สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ สหรัฐฯ (National Institute of Standards and Technology หรือ NIST) กล่าวว่า เทคโนโลยีการทำแผนที่จากการใช้โดรนนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้ว่ามีผู้ประสบภัยอยู่ที่ใด แผนที่จะสามารถช่วยนำทางเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยผู้ประสบภัยและกลับออกมาอย่างปลอดภัยได้


อย่างไรก็ตาม การบินโดรนภายในอาคารนั้นยุ่งยากกว่าการบินโดรนกลางแจ้งมาก ด้วยเหตุผลหลายประการ โดรนมักอาศัย GPS เพื่อรักษาตำแหน่ง และอาจไม่สามารถใช้ในอาคารได้เสมอไป นอกจากนี้ โดรนอาจต้องเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่แคบ เช่น ทางเดิน ประตู หรือบันได และยังต้องนำทางผ่านความปั่นป่วนของอากาศที่เกิดจากใบพัดของตัวเอง ซึ่งเกิดขึ้นกับเฮลิคอปเตอร์เช่นกัน Kamel S. Saidi ผู้จัดการโปรแกรมหุ่นยนต์ของ NIST ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าโดรนจะมีราคาไม่แพงในปัจจุบัน แต่อุปกรณ์ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์อาจมีราคาถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยราคาถูกลง NIST จึงได้สนับสนุนการแข่งขันการทำแผนที่ 3 มิติในอาคาร เพื่อช่วยให้นักออกแบบและวิศวกร UAS สร้างระบบที่สามารถช่วยผู้ประสบภัยในอาคารได้ บทบาทอย่างหนึ่งของ NIST ในการดำเนินการดังกล่าวคือการนำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมงานกัน เช่น องค์กรตอบสนองเหตุฉุกเฉิน นักบินโดรน และผู้เชี่ยวชาญด้านโดรน และจัดให้มีการทดสอบโดรนและนักบินอย่างเป็นกลาง นอกจากนี้ วิศวกรของ NIST ยังคิดค้นวิธีการประเมินว่าเทคโนโลยี UAS ทำงานได้ดีเพียงใดในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย วิธีการทดสอบเหล่านี้จะเป็นมาตรฐานในที่สุด เช่นเดียวกับกระบวนการที่ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ของ NIST
Eric Bircher ผู้เข้าแข่งขันกล่าวว่าการแข่งขันครั้งนี้ช่วยให้ทีมของเขาพัฒนาเทคนิคการทำแผนที่ 3 มิติ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้โดรนทำงานให้กับเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ Bircher เริ่มสนใจโดรนหลังจากดูการแข่งขัน ในปี 2016 ปัจจุบันเขาให้คำปรึกษาด้านนี้และทำงานให้กับบริษัทที่ส่งอาหารโดยใช้โดรน แม้ว่าการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญ ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยทำงานในสภาพแวดล้อมในอาคารที่ แต่ Saidi กล่าวว่าจะต้องใช้เวลาในการพัฒนา ก่อนที่เทคโนโลยีการทำแผนที่ 3 มิติแบบเรียลไทม์นี้จะพร้อมใช้งานในราคาที่ถูกลง
-------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Drones in Disaster Zones: How Advanced 3D Mapping Technology Can Help First Responders Save Lives, www.nist.gov/blogs/taking-measure/drones-disaster-zones-how-advanced-3d-mapping-technology-can-help-first
Commentaires