top of page

สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ออกกฏห้ามใช้เมทิลีนคลอไรด์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (The Environmental Protection Agency หรือ EPA) ของสหรัฐฯ ได้สรุปกฏห้ามผู้บริโภคใช้เมทิลีนคลอไรด์ (methylene chloride) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในน้ำยาลอกสี ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งตับ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ โดย EPA กล่าวว่ากฏนี้จะช่วยปกป้องชาวอเมริกันจากความเสี่ยงด้านสุขภาพ ขณะเดียวกันก็อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์บางประเภทได้ กฎห้ามใช้เมทิลีนคลอไรด์ เป็นการจัดการความเสี่ยงข้อที่สองที่ได้รับการสรุปโดยฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ภายใต้การแก้ไขกฎหมายควบคุมสารพิษในปี 2016  ประการแรกดำเนินการเมื่อเดือนที่แล้ว ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน (asbestos)  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่คร่าชีวิตชาวอเมริกันหลายหมื่นคนทุกปี แต่ยังคงมีใช้ในสารฟอกขาว (chlorine bleach), ผ้าเบรก และผลิตภัณฑ์อื่นๆ


Michael Regan ผู้บริหาร EPA พูดระหว่างงานอีเว้นท์ที่มหาวิทยาลัย Howard เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2024 ณ กรุงวอชิงตัน ว่า EPA ได้สรุปการห้ามผู้บริโภคใช้เมทิลีนคลอไรด์

เครดิตภาพ: AP Photo/Kevin Wolf, File


เมทิลีนคลอไรด์ หรือ ไดคลอโรมีเทน (dichloromethane) เป็นของเหลวไม่มีสี ที่ปล่อยไอพิษซึ่งคร่าชีวิตคนงานไปแล้วอย่างน้อย 88 คนตั้งแต่ปี 1980 สารเคมีชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ได้แก่ มะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งตับ และมะเร็งปอด และทำลายระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์ โดย EPA ออกกฏห้ามไม่ให้ผู้บริโภคทั้งหมดใช้สารเคมีชนิดนี้ แต่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการทางทหารและทางอุตสาหกรรม "ที่สำคัญ (critical)"  เช่น การผลิตสารทำความเย็นแทนสารเคมีชนิดอื่นที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และการใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

ข้อกำหนดของ EPA เมื่อปีที่แล้วอาจทำให้เกิดความสับสนด้านกฎระเบียบที่ว่าด้วยเรื่องขีดจํากัดการรับสัมผัสสารเคมี (Exposure Limits) ที่กำหนดโดยสำนักงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของรัฐบาลกลาง  (the federal Occupational Safety and Health Administration) ทำให้การใช้สารเคมีดังกล่าวยังคงแพร่หลาย และยังคงก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อคนงาน โดยกฎการบริหารความเสี่ยงขั้นสุดท้ายของ EPA นี้ กำหนดให้บริษัทต่างๆ ยุติการผลิต แปรรูป และการจำหน่ายเมทิลีนคลอไรด์, ยุติการใช้ของผู้บริโภคภายในหนึ่งปีนี้, และห้ามการใช้ในเชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ภายในสองปี ทั้งนี้ผู้บริโภคควรมองหาฉลากที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ปราศจากเมทิลีนคลอไรด์ โดยมีการเผยแพร่รายชื่อสินค้าน้ำยาลอกสี และน้ำยาขจัดคราบที่ไม่มีสารดังกล่าวโดยกลุ่มผู้สนับสนุนการการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย หรือ “กลุ่ม Toxic-Free Future”


ข้อมูลอ้างอิง

EPA bans consumer use of a toxic chemical widely used as a paint stripper but known to cause cancer สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567 จาก https://apnews.com/article/epa-bans-methylene-chloride-toxic-paint-stripper

Comentarios


bottom of page