top of page

มลพิษจากยางและเบรก - อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่พึงประสงค์จากยานพาหนะ

รถยนต์และยานพาหนะอื่นๆ เป็นแหล่งมลพิษขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่จากควันไอเสียเท่านั้น ยางและเบรกของรถมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ ในทางกลับกันชิ้นส่วนเหล่านี้ แม้แต่ในรถยนต์ไฟฟ้าก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ยางและเบรกของรถยนต์สร้างมลภาวะอย่างไร?

มลพิษที่มาจากการสึกหรอของชิ้นส่วนเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไป ฝุ่นจากยางและเบรกสามารถรวมตัวกันเป็นอนุภาคในอากาศที่เราสูดเข้าไปทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น โดย Heejung Jung ศาสตราจารย์แห่ง University of California, Riverside กล่าวกับ The Washington Post ว่า การปล่อยก๊าซที่ไม่ได้มาจากท่อไอเสียเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาเพราะไม่ได้ถูกควบคุม และส่วนประกอบทางเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุภาคของสสารของเบรกที่เป็นโลหะทั้งหมดอาจเป็นพิษมากขึ้น


ตามรายงานของ CNN พบว่าฝุ่นของยางรถยนต์เป็นหนึ่งในไมโครพลาสติกที่แพร่กระจายมากที่สุด โดยฝุ่นมากกว่า 6 ล้านเมตริกตันจะแพร่ในอากาศและในน้ำทุกปี ซึ่งฝุ่นจากยางรถนั้นมีมลพิษที่ไม่ใช่ไอเสียของรถยนต์ ซึ่งรวมถึงยาง เบรก และการสึกหรอของพื้นผิวถนนคิดเป็น 90% ของการปล่อยฝุ่นละอองทั้งหมดจากยานพาหนะ ไมโครพลาสติกจากฝุ่นยางรถยนต์มีส่วนทำให้เกิดมลพิษ PM2.5 ที่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กมากจนสามารถหายใจเข้าไปได้และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจ และจากการศึกษาในปี 2563 พบว่าสารเคมีในยางรถยนต์อาจมีส่วนทำให้ปลาแซลมอนตายหลายตัวในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ


อาจถึงเวลาที่จะคิดค้นล้อชนิดใหม่

ทางออกที่ดีคือการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำยางและเบรก ปัจจุบันชิ้นส่วนต่างๆ มักจะทำจากยางสังเคราะห์จากน้ำมันดิบซึ่งมีสารเคมีหลายชนิด รวมทั้งสารบางชนิดที่ทราบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง หนึ่งในแนวคิดคือการทำยางรถยนต์จากยางธรรมชาติที่ใหม่กว่าซึ่งได้มาจากดอกแดนดิไลออน โดยการริเริ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทยางรถยนต์ Goodyear, Department of Defense, Air Force Research Lab (AFRL), BioMADE และ Farmed Materials เพื่อผลิตยางรถยนต์จากธรรมชาติ ซึ่งความต้องการยางธรรมชาติทั่วโลกยังคงเติบโต และยังคงเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดย Chris Helsel รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการต่างประเทศและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของกู๊ดเยียร์กล่าวในการแถลงข่าวว่า "นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาแหล่งยางธรรมชาติในประเทศ ซึ่งอาจช่วยลดความท้าทายในห่วงโซ่อุปทานในอนาคต”


 






תגובות


bottom of page