top of page

นักวิจัยอาร์เจนตินาพัฒนาการผลิตไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ด้วยยีสต์



ไอบูโพรเฟนเป็นยาต้านการอักเสบแบบปราศจากสเตียรอยด์ (non-steroidal anti – inflammatory drug หรือ NSAID) ที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อระงับปวด ต้านการอักเสบ และลดไข้ ซึ่งโดยทั่วไปการอักเสบเกิดจากกลไกการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxygenase (COX) ที่มีอยู่ 2 ชนิด โดยเอนไซม์ตัวนี้จะเข้าไปเปลี่ยน Arachidonic Acid ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ให้กลายเป็นสาร Prostaglandins ที่เป็นตัวการที่เข้าไปกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกเจ็บปวดให้ไวต่อการกระตุ้นมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบ ไอบูโพรเฟนจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxygenase ทั้งชนิด COX-I และ COX-II และยังช่วยลดการสังเคราะห์ Prostaglandins ในร่างกายให้ลดน้อยลง ทำให้ร่างกายได้รับการบรรเทาอาการปวดและอักเสบจนกลับสู่ภาวะปกติได้


การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไอบูโพรเฟนนั้นยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา และการเพิ่มประสิทธิภาพของยา ทีมนักวิจัยจาก Center for Plant Protein Research (CIProVe) และ Center for Research and Development in Applied Sciences Dr. Jorge J. Ronco (Cindeca) ของมหาวิทยาลัย National University of La Plata (UNLP) อาร์เจนตินา ค้นพบว่ายีสต์ Candida antarctica ซึ่งมีเอนไซม์ไลเปส B ที่เป็นโปรตีนและทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ โดยได้มีการศึกษาควบคู่กับการเติมสารเคมีที่เรียกว่าโพลีออล (polyols) ในปริมาณต่างๆ เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตัวยาไอบูโพรเฟนให้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า เอนไซม์ไลเปส B มีความสามารถในการเร่งความเร็วของปฏิกิริยาได้อย่างมากและมีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องเติมสารเคมีเพิ่มเติม นักวิจัยยังเพิ่มเติมว่า ยีสต์ Candida antarctica สามารถพบได้โดยทั่วไปในธรรมชาติ รวมถึงพื้นที่อย่างขั้วโลกใต้ด้วยเช่นกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาและการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางจากเอนไซม์ไลเปส B ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาตามธรรมชาติสามารถกระตุ้นปฏิกิริยาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและที่สำคัญเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้ถูกนำมาใช้ทั้งในเคมีภัณฑ์ เภสัชกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพหรือการปนเปื้อนของน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม


 

ที่มา

Comments


bottom of page