การดำเนินงานด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ในช่วงสมัยที่สองของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นยากที่จะคาดการณ์ เนื่องจากในช่วงสมัยฤดูกาลหาเสียงปี 2024 หัวข้อนี้ไม่ได้มีการถูกหยิบยกมาพูดถึงสักเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม โดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีจุดยืนในบางประเด็นที่มีนัยที่ชัดเจนต่อนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.การปรับลดการใช้จ่ายของรัฐบาล
ทรัมป์ได้มอบหมายให้นายให้อีลอน มัสก์ และนายวิเวก รามาสวามี ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จัดตั้งแนวคิดในการลดงบประมาณของรัฐบาลกลางมูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสภาครองเกรสน่าจะมีท่าทีว่าจะไม่ตอบรับเรื่องการปรับลดงบประมาณในระดับขนาดนั้น ในปัจจุบันรัฐบาลกลางใช้จ่ายประมาณ 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดยประมาณหนึ่งในสามเป็นการใช้จ่ายตามดุลยพินิจที่สภาคองเกรสจัดสรร ในช่วงวาระสมัยแรกทรัมป์เคยพยายามลดงบประมาณจำนวนมากในหน่วยงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนในการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งสภาคองเกรสปฏิเสธที่จะลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้น
ทรัมป์มีความสนใจที่จะยกเลิกการใช้จ่ายในโครงการริเริ่มของไบเดน เช่น การอุดหนุนเทคโนโลยีพลังงานในพระราชบัญญัติลดเงินเฟ้อ และการอุดหนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในกฎหมาย CHIPS and Science Act
2.โครงการความหลากหลายด้าน STEM ต้องเผชิญกับแรงกดดัน
ทรัมป์ประกาศจะเพิกถอนคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีไบเดน ว่าด้วยเรื่องการสนับสนุนความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก (DEI) ทั่วทั้งรัฐบาล ซึ่งหน่วยงานวิทยาศาสตร์ได้ชี้ว่าเป็นพื้นฐานในการจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่กระจายกำลังคนในสาขา STEM นอกจากนี้ ทรัมป์ยังได้แต่งตั้งบุคลากรอาวุโสที่มีความเห็นไม่เห็นด้วยกับโครงการริเริ่มของ DEI อีกด้วย
ทรัมป์มอบหมายให้ Stephen Miller ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายของทรัมป์ ซึ่งก่อนหน้านี้ในวาระแรก Miller เคยดำรงตำแหน่งในคณะบริหารและก่อตั้งกลุ่มผู้สนับสนุนชื่อ “America First Legal” ซึ่งได้ฟ้องร้องหลายมหาวิทยาลัยในการใช้ความหลากในการตัดสินการจ้างงานในบางอาชีพ และยังได้ออกคำขอ Freedom of Information Act (FOIA) ไปยังหน่วยงานวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยงาน (ได้แก่ CDC DOD NASA NIST NOAA และ NSF) เพื่อตรวจสอบโครงการ DEI นี้ และยังฟ้องร้องไปยัง NSF เพื่อบังคับให้ปฏิบัติตามคำขอ FOIA ก่อนหน้านี้เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับการแต่งตั้งทางการเมืองที่หน่วยงาน
ทรัมป์อาจห้ามการใช้แนวคิด DEI และอาจมีการจำกัดการฝึกอบรมความหลากหลายของพนักงานผู้รับเหมาทั่วทั้งรัฐบาลกลาง
3.ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของงานวิจัย
ทรัมป์มุ่งเน้นเรื่องความมั่นคงด้านงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับจีน และการเน้นนี้อาจกำหนดนโยบายและการดำเนินงานในอนาคตของสหรัฐฯ ในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ใช้นโยบายด้านการตรวจลงตรา (Visa) เป็นเครื่องมือในการรักษาความมั่นคงในการวิจัย
ทรัมป์จะนำโครงการ China Initiative ของกระทรวงยุติธรรมกลับเข้ามาพิจารณา โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการจารกรรมและยักยอกงานวิจัยที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยและธุรกิจต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ กับจีน มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการเกิดข้อจำกัดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าบริหารสมัยแรกของทรัมป์และถูกขยายต่อเนื่องมาจนถึงยุคการบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์ต่อต้านโครงการริเริ่มของประธานาธิบดีไบเดนนั้นก็เหมือนกับเป็นแนวโน้มที่จะบังคับให้หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลกลางถอนตัว และคำมั่นสัญญาที่จะเปลี่ยนแปลงงานราชการหลายพันตำแหน่งให้กลายเป็นบทบาททางการเมือง อาจกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากลาออก
4. โรคระบาดคือจุดเปลี่ยนสำหรับบทบาทของทรัมป์ด้านนโยบายวิทยาศาสตร์
ทรัมป์แสดงความสนใจในการร่วมยกเครื่องหน่วยงานด้านสาธารณสุข รวมถึงสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health: NIH) ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดข้อเสนอการปรับโครงสร้าง NIH ที่มีการเสนอในสภาครองเกรส
5. วิทยาศาสตร์ภูมิอากาศอาจเผชิญกับความท้าทายโดยตรง
ทรัมป์มองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นเรื่องหลอกลวงและจะไม่เกิดขึ้น
นักวิทยาศาสตร์หลายคนแสดงความกังวลว่ารัฐบาลทรัมป์อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการวิจัยที่สนับสนุนกฎเกณฑ์ของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพสิ่งแวดล้อม
นักวิทยาศาสตร์ทั่วทั้งรัฐบาล ตั้งแต่ NOAA และ NASA ไปจนถึงเครือข่ายห้องปฏิบัติการแห่งชาติของกระทรวงพลังงาน อาจเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมือง ซึ่งอาจกระทบต่องานวิจัยหรือแม้แต่การเลิกจ้างงานในไม่ช้า
ประธานาธิบดีทรัมป์เสนอชื่อผู้อำนวยการ OSTP
และเจ้าหน้าที่นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง
Michael Kratsios ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Office of Science and Technology Policy: OSTP) เป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งในคณะบริหารชุดแรกของทรัมป์ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ในสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำเนียบขาว และต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รักษาการหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหม
Lynne Parker นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี น็อกซ์วิลล์ ได้รับเลือกให้เป็นที่ปรึกษาแก่นาย Kratsios และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารของสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (President’s Council of Advisors on Science and Technology: PCAST) โดยก่อนหน้านี้ ดร. Parker เคยดำรงตำแหน่งใน OSTP ตั้งแต่ปี 2018 จนถึงปี 2022 ทั้งในฝ่ายบริหารของทรัมป์ และไบเดน และที่ NSF ในตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกสำหรับข้อมูลและระบบอัจฉริยะตั้งแต่ปี 2015 ถึงปี 2016 ในบทบาทก่อนหน้านี้ใน OSTP ดร. Parker เป็นผู้นำด้านนโยบาย AI ระดับชาติ ดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ผู้อำนวยการผู้ก่อตั้งสำนักงานริเริ่ม AI แห่งชาติ และผู้ช่วยผู้อำนวยการด้าน AI
Sriram Krishnan นักธุรกิจอินเดียน-อเมริกัน อดีตผู้นำทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทไอทีหลายแห่ง ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายปัญญาประดิษฐ์ และคาดว่าจะมีโอกาสได้ร่วมงานกับ มัสก์ และรามาสวามี ในภารกิจของ Department of Government Efficiency (DOGE)
Bo Hines ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารของ Presidential Council of Advisers for Digital Assets ชุดใหม่ (เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “Crypto Council”) และ David Sacks จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับประธานด้าน AI และ cryptocurrency และเป็นประธานร่วมของ PCAST
อย่างไรก็ตามการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งของ Kratsios จะต้องได้รับการยืนยันจากวุฒิสภาก่อนถึงจะสามารถเข้ารับตำแหน่งได้ แต่ในตำแหน่งอื่นๆ คาดการณ์ว่าจะเริ่มรับตำแหน่งได้ในไม่นานหลังจากฝ่ายบริหารสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 ข่าวการแต่งตั้งตำแหน่งผู้บริหารยังชี้ให้เห็นว่าปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีบล็อกเชนจะเป็นประเด็นสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยที่ 2 ของฝ่ายบริหารประธานาธิบดีทรัมป์
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Comments