การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องการหารือความร่วมมือและวิธีการทดสอบ PFASs ณ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) รัฐแมริแลนด์
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ดร.เศรษฐพันธ์ กระจ่างวงษ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) พร้อมด้วย นว.ชพ. สมภพ ลาภวิบูลย์สุข ผู้ได้รับทุนรัฐบาลเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การปฏิบัติงานในต่างประเทศ จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้เข้าประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องการหารือความร่วมมือและวิธีการทดสอบ PFASs กับ Dr. Lowri S. de Jager, Director, Division of Analytical Chemistry และคณะวิจัย ที่ Division of Analytical Chemistry Center for Food Safety and Applied Nutrition, Office of Regulatory Science, Division of Analytical Chemistry, U.S. Food and Drug Administration โดยมีสาระสำคัญดังนี้
เทคนิคการเตรียมตัวอย่างและเทคนิคการวัดเพื่อใช้ทดสอบ PFASs ในตัวอย่างอาหาร ตามวิธี METHOD NUMBER: C-010.02 Determination of 16 Per and Polyfluoroalkyl Substances (PFASs) in Processed Food using Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry (LC-MS/MS)
ข้อควรระวังในการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดสอบ PFASs ในเรื่องชองเทคนิคการเตรียมสารละลายมาตรฐาน การรักษาความสะอาดระหว่างการเตรียมตัวอย่างเพื่อลดการปนเปื้อนจากสภาวะแวดล้อมภายนอก
ชนิดของ PFASs และชนิดของตัวอย่าง เช่น อาหารทะเล อาหารทารก และอาหารที่บริโภคกันทั่วไปในการทดสอบ PFASs
งานพัฒนาการทดสอบ PFASs ในอนาคต เช่นการเพิ่มชนิดของ PFASs และชนิดของตัวอย่างให้ครอบคลุมและมากขึ้นกว่าที่ทดสอบได้ในปัจจุบัน
ความร่วมมือระหว่าง วศ. และ U.S. FDA ในอนาคต 5.1 การขอความร่วมมือให้ U.S. FDA ส่งนักวิจัยมาช่วยสอนและเตรียมห้องแลปเพื่อใช้ในการทดสอบ PFASs ในอาหาร 5.2 การเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการระหว่าง วศ. และ U.S. FDA
การขยายความร่วมมือไปยัง National Institute of Standards and Technology (NIST) เพื่อขอข้อมูลของวัสดุอ้างอิงมาตรฐานในการทดสอบ PFASs เพิ่มเติมต่อไป
Comentarios