top of page

กระเป๋าฉุกเฉินหากเกิดภัยพิบัติ ควรมีอยู่อะไรบ้าง?

  • Writer: OST Washingtondc
    OST Washingtondc
  • Apr 7
  • 1 min read

Updated: Apr 8




1.      น้ำ (1 แกลลอนต่อคนต่อวันเป็นเวลาหลายวัน) ซึ่งควรเป็นน้ำขวดที่จำหน่ายตามท้องตลาดและเก็บไว้ในภาชนะเดิมที่ปิดสนิทในที่เย็นและมืด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มอัดลมหรือคาเฟอีนแทนการดื่มน้ำ เครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ และต้องการดื่มน้ำมากขึ้น

2.      อาหาร (อาหารที่ไม่เน่าเสียง่ายสำหรับหลายวัน ควรเลือกอาหารที่ทุกคนในครอบครัวรับประทานได้ และคำนึงถึงความต้องการทางโภชนาการ

3.      ไฟฉาย

4.      ชุดปฐมพยาบาล

5.      แบตเตอรี่สำรอง

6.      นกหวีด (เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ)

7.      หน้ากากอนามัย

8.      แผ่นพลาสติก กรรไกร และเทปกาว (เพื่อหลบภัย ซึ่งถือเป็นมาตรการป้องกันชั่วคราวในการกั้นอากาศภายนอกที่อาจปนเปื้อน การหลบภัยประเภทนี้ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า)

9.      ผ้าเปียก กระดาษชำระ ถุงขยะ และสายรัด (เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล)

10.  ประแจหรือคีม (เพื่อปิดแก๊ส น้ำ และ ไฟ สิ่งสำคัญคือสมาชิกในครอบครัวต้องรู้จักวิธีปิด)

11.  ที่เปิดกระป๋อง (สำหรับอาหาร)

12.  แผนที่ท้องถิ่น

13.  โทรศัพท์มือถือพร้อมที่ชาร์จและแบตเตอรี่สำรอง

14.  วิทยุสื่อสาร (ถ้ามี)

 

โดยจัดเก็บสิ่งของต่างๆ ไว้ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิท แล้วใส่ภาชนะหรือกระเป๋าเดินทางที่พกพาสะดวก

นอกจากนี้ยังควรมีรายการต่อไปนี้ในกระเป๋าฉุกเฉินตามความต้องการส่วนบุคคล ได้แก่

1.      สบู่ เจลล้างมือ หรือผ้าเช็ดทำความสะอาด

2.      ยาตามใบสั่งแพทย์ และ ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย ยาลดกรด หรือยาระบาย

3.      แว่นตาและน้ำยาคอนแทคเลนส์

4.      นมผงสำหรับทารก ขวดนม ผ้าอ้อม ผ้าเช็ดทำความสะอาด และครีมทาผื่นผ้าอ้อม

5.      อาหารสัตว์และน้ำสำรองสำหรับสัตว์เลี้ยง

6.      เงินสดหรือเช็ค

7.      เอกสารสำคัญของครอบครัว เช่น สำเนากรมธรรม์ประกันภัย เอกสารระบุตัวตน และบัญชีธนาคาร เป็นต้น โดยเก็บไว้ในถุงกันน้ำ

8.      ถุงนอนหรือผ้าห่มกันหนาว

9.      เสื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศและรองเท้าที่แข็งแรง

10.  ถังดับเพลิง

11.  ไม้ขีดไฟ (ใส่ไว้ในถุงกันน้ำ)

12.  ของใช้ส่วนตัวสำหรับผู้หญิง เช่น ผ้าอนามัย

13.  อุปกรณ์ทานอาหาร เช่น แก้วกระดาษ จาน กระดาษเช็ดมือ และภาชนะพลาสติก

14.  กระดาษและดินสอ

15.  หนังสือ เกม หรือกิจกรรมอื่นๆ สำหรับเด็ก

 



สถานที่จัดเก็บกระเป๋าฉุกเฉิน

เนื่องจากเหตุการณ์ฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงควรจัดเก็บกระเป๋าฉุกเฉินไว้สำหรับบ้าน ที่ทำงาน และในรถยนต์

-        บ้าน: เก็บกระเป๋าฉุกเฉินไว้ในสถานที่ที่สมาชิกในครอบครัวจะทราบว่าอยู่ที่ไหน และเตรียมพร้อมไว้ในกรณีที่คุณต้องออกจากบ้านอย่างรวดเร็ว

-        ที่ทำงาน: เตรียมกระเป๋าสำหรับการหลบภัยในที่ทำงานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยเก็บกระเป๋าฉุกเฉินไว้ในกล่องที่พร้อมหยิบออกมาได้สะดวก

-        รถยนต์: ให้เก็บกระเป๋าอุปกรณ์ฉุกเฉินไว้ในรถด้วย โดยมีอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ดังต่อไปนี้

สายพ่วงแบตเตอรี่, สามเหลี่ยมสะท้อนแสง, ที่ขูดน้ำแข็ง (สำหรับต่างประเทศ), ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือในรถยนต์ และทรายสำหรับแมวหรือทรายปกติ (เพื่อให้ยางยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น)

 




การดูแลกระเป๋าฉุกเฉิน

ควรดูแลรักษากระเป๋าฉุกเฉินให้พร้อมใช้ทุกปี เช่น

-        เก็บอาหารกระป๋องหรือกล่องไว้ในที่แห้งและเย็น

-        เปลี่ยนของที่หมดอายุเมื่อจำเป็น

-        อัปเดตชุดอุปกรณ์เมื่อความต้องการของครอบครัวเปลี่ยนไป

 


ที่มา: Build A Kit, https://www.ready.gov/kit

หมายเหตุ ภาพประกอบจาก www.canva.com/ai-image-generator/

Comentários


สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

Office of Higher Education, Science, Research and Innovation
Royal Thai Embassy, Washington D.C.

2025 All Rights Reserved
+1 (202) 944-5200
ost@thaiembdc.org
facebook.com/ohesdc

 
1024 Wisconsin Ave. NW Suite 104,
Washington D.C 20007
bottom of page