top of page
AdobeStock_310182856.jpeg

ความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการ
ระหว่างราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา 
(Agreement Relating to Scientific and Technical Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and
the Government of the United States of America - STA)

ข้อมูลภูมิหลัง

ฝ่ายไทยและสหรัฐฯ ได้เริ่มเจรจาจัดทำความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2548 และได้ข้อยุติร่วมกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดย รมว.วท. เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 จึงถือเป็นความตกลงระดับรัฐบาล ที่อยู่ภายใต้บทบาทหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-สหรัฐฯ เป็นการกำหนดกรอบและแนวทางความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ โดยสาระสำคัญของความตกลงฯ ประกอบด้วย การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ความตกลงฯ ซึ่งครอบคลุมถึงโครงการพัฒนาและวิจัยร่วม ศูนย์ปฏิบัติการร่วม การศึกษาวิจัยร่วม การร่วมจัดประชุมสัมมนา โครงการฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ โครงการแลกเปลี่ยนการเยือนของนักวิจัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมความร่วมมืออื่นๆ โดยความตกลงความร่วมมือฯ ฉบับนี้มีอายุ 5 ปี โดยหมดอายุเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561

นอกจากนั้น วท. ยังได้ร่วมกับ Bureau of Ocean, Environment and Science (OES) Department of States USA จัดตั้งกรอบการประชุม คณะกรรมการร่วมไทย – สหรัฐฯ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Joint Committee Meeting on Science and Technology – JCM) เพื่อเป็นกลไกหารือในการผลักดันความร่วมมือ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินความร่วมมือใน 5 สาขา ได้แก่ 1) Energy 2) Health 3) STEM Education 4) Water และ 5) Biodiversity และได้มีการจัดการประชุม JCM ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2559 โดยฝ่ายไทยมี ปวท. รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ เป็นประธาน ส่วนฝ่ายสหรัฐฯ มี นาง Judith Gerber, Assistant Secretary Department of State เป็นประธาน)  การประชุมที่กรุงเทพฯ มีหน่วยงานจำนวนมากจากหลายกระทรวงเข้าร่วม อาทิ ทส. (ด้านน้ำ) พน.ด้านพลังงาน และ สธ.

(ด้านสุขภาพ) เป็นต้น รวมทั้งมีผู้แทนจากหลายมหาวิทยาลัยเข้าร่วม

ต่อมา เมื่อวันที่ 3 – 9 กรกฎาคม 2561 รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปวท. และผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางมาสหรัฐอเมริกา  เพื่อ เข้าร่วมการประชุม JCM ครั้งที่ 2 พร้อมทั้งลงนามตราสารต่ออายุความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-สหรัฐฯ (STA) ไปอีก 5 ปี ในการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนและผู้ลงนามตราสารต่ออายุฝ่ายสหรัฐฯ ได้แก่ Dr. Jonathan Margolis,  Acting Deputy Assistant Secretary for Science, Space, and Health, Bureau of Oceans and International Environmental and Scientific Affairs, Department of State ทั้งนี้ ความตกลงจะมีผลบังคับใช้วันที่ 6 สิงหาคม2561 และจะสิ้นสุดในอีก

5 ปี คือ สิงหาคม 2566

 

36707676_10217837408626004_5017296841461465088_n.jpg
36678576_10217837472867610_6821102128468066304_n.jpg
36773148_10217837246941962_7178792386472968192_n.jpg
36778604_10217837111138567_2746260500617625600_n.jpg

ผลสรุปของการประชุม JCM ครั้งที่ 2

  • Natural Resources Management – the Energy-Water Nexus ฝ่ายสหรัฐฯ ได้นำเสนอแนวทางความร่วมมือในด้าน Groundwater modeling, Foundations for strategic Lower Mekong River systems optimization, Alternative sources and pumped storage hydropower และ Marine debris โดยฝ่ายไทยได้นำเสนอประเด็นความร่วมมือด้านการจัดการขยะในทะเลและแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย (Marine Litter) ความร่วมมือด้าน Coral Reef Health และความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและโรงกลั่นชีวภาพ ที่ใช้สำหรับผลิตเชื้อเพลิง เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมกลไกราคาและการพัฒนางานวิจัย

  • STEM Education: Museum Outreach Models โดยผู้แทนสหรัฐฯ จาก Smithsonian Science Education Center  นำเสนอการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชน โดยผู้แทนไทยที่ร่วมหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การสวนสัตว์  ทั้งนี้ ได้หยิบยกประเด็นความร่วมมือของ สทน. เรื่อง Enhancing Nuclear Education in Secondary Schools and Outreach Program ร่วมกับ Nuclear Power Institute, Texas A&M University โดยมีกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกัน เช่น การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาระหว่างไทยและสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้านนิวเคลียร์ในโรงเรียนให้แก่ครู และสร้างแรงบันดาลใจในการเข้าสู่การเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านนิวเคลียร์ให้แก่นักเรียน

  • Global One Health – Biodiversity and Health Studies to Benefit Societies  การศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพเพื่อประโยชน์ของสังคม โดยสองฝ่ายได้หารือในประเด็นต่างๆ ทั้งโรคในมนุษย์และสัตว์ ได้แก่ การระบุหาความเสี่ยงที่เกิดจากโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า การศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการวิจัยโรคมะเร็ง โดยเทคโนโลยีชั้นสูง 

 

ในช่วงปี 2563 - 2565 ปว.(วต.) ได้มีการเตรียมการหารือกับ OES สหรัฐฯ มาเป็นระยะ เกี่ยวกับแผนการประชุม JCM ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย (ตามวาระสลับการเหย้าเยือน) โดยยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดจะมีความเกี่ยวข้องกับ 2 ปัจจัย ได้แก่ การรอคอยการสิ้นสุดของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และความพร้อมของฝ่ายไทย โดยเฉพาะหลังการปรับปรุงโครงสร้างเป็นกระทรวง อว. ซึ่งในการลงนามตราสารครั้งต่อไป อาจมีความจำเป็นต้องมีตราสารแก้ไข (Amendment) หน่วยงานคู่ภาคีหลักด้วย

 

การจัดประชุมในครั้งที่ 3 อาจจะมีลักษณะคล้ายกับการประชุมครั้งที่ 1 ในรูปแบบของการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ กล่าวคือ จะมีผู้แทนของหน่วยงานองค์กรไทยเข้ามาร่วมประชุมและสังเกตการณ์จำนวนมาก ทำให้การประชุมจะมี 2 ลักษณะ คือเป็นการประชุมหารือระหว่างผู้แทนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประชุมในลักษณะการสัมมนา ที่มีผู้แทนไทยเข้ามาร่วมฟังการนำเสนอจากผู้แทน/วิทยากรสหรัฐฯ  ซึ่งจะต่างจากครั้งที่ 2 ที่จัดที่สหรัฐฯ ที่มีการเข้าร่วมของผู้แทนไทยในวงจำกัด และ Department of State ก็จัดผู้แทนมาเข้าร่วมจำกัดในลักษณะคู่เจรจาเท่านั้น

การแบ่งกลุ่มและหัวข้อสำหรับการประชุม JCM ครั้งที่ 3 ที่เคยมีการประชุมหารือไว้

ในการประชุมเตรียมการ มีการเปลี่ยนแปลงในพัฒนาการของหัวข้อที่ฝ่ายสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะภายใต้การบริหารของ ปธน. โจ ไบเดน ดังนี้

  1. Climate Change จะกลายเป็นหัวข้อที่ สหรัฐฯ ขอให้เป็น First Priority หลังจากที่ไม่เคยมีการหยิบยกให้เป็นหัวข้อนำในการประชุม ๒ สมัยที่ผ่านมา โดยฝ่ายไทย เสนอที่จะได้มีการปรับประเด็นของ Energy และ Waterรวมทั้ง Waste Management และ Marine Debris ที่ได้มีการหารือไว้ในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา มารวมในหัวข้อนี้ โดยหัวข้อนี้ จะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ BCG ของไทย ในส่วนของ C- Circular และ G – Green ด้วย โดยเฉพาะในประเด็นพลังงานทดแทน/หมุนเวียน การเก็บกักพลังงาน EV และการจัดการขยะและของเสียทั้งบนบก น้ำในแผ่นดิน ทะเลและมหาสมุทร  

  2. Health เป็นการดำเนินหัวข้อต่อจากการประชุมเดิมที่เคยมีการหารือในมิติของ One Health (โดยรวมสุขภาพคนและสัตว์ เป็นหนึ่งเดียวกัน) ซึ่งปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตอกย้ำความจำเป็นของการเจรจาในกรอบของ One Health (ประเด็นการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คน) นอกจากนั้น ฝ่ายไทยยังสนใจประเด็นการหารือในด้านเวชศาสตร์ป้องกัน อาทิ การพัฒนาวัคซีน สำหรับในส่วนของโรคไม่ติดต่อ ยังมุ่งให้ความสนใจกับการศึกษาวิจัยร่วมในด้าน Genomics

  3. Biodiversity – Bio Technology จะเป็นประเด็นที่ฝ่ายไทยขอแยกการหารือออกมาอีกครั้งเพื่อให้สอดรับกับ ส่วน B - Bio ใน BCG โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพในด้านการผลิตทางการเกษตร ที่ไทยสนใจเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ อาทิ Precision Agriculture Technology, Variety Breeding

  4. STEM Education – สืบเนื่องจากการควบรวม วท. กับ สกอ. และระบบมหาวิทยาลัย ทำให้ประเด็นนี้ มีการขยายมิติความร่วมมือให้กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านสาระของการหารือ จาก STEM ไปยัง STEAM (STEM + ART) และทำให้ในส่วนของหน่วยงานสหรัฐเอง นอกจากจะเกี่ยวของกับ OES จะโยงกับไปยัง Bureau of Educational and Cultural Affairs (ECA) ซึ่งดูแลความสัมพันธ์ในมิติการศึกษา (ทั้งระดับพื้นฐานและการอุดมศึกษา)  ทั้งนี้  ในการประชุมเตรียมการของฝ่ายไทย อาจต้องมีการพิจารณาจัดทำขอบเขตให้มีความชัดเจน เพื่อให้ สหรัฐฯ สามารถเชิญผู้แทนที่เหมาะสมเดินทางมาเข้าร่วมการประชุม

 

เนื่องจาก ปี 2566 ตราสารต่ออายุจะหมดลงในเดือนสิงหาคม 2566 ฝ่ายสหรัฐฯ จึงคาดว่า จะต้องร่วมกับไทย ผลักดันให้เกิดการประชุม JCM ครั้งที่ 3 และลงนามตราสารต่ออายุความตกลงออกไปอีกวาระ

bottom of page